พื้นฐานดวงจีน 2



หลักการพิฆาต 5 ธาตุ


ธาตุดิน

ธาตุ ดินชนะ หรือได้เปรียบ ธาตุน้ำ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ธาตุดินมีความหนักแน่นกว่าธาตุน้ำ ซึ่งเราก็คงจะสังเกตุเห็นว่า การกักน้ำตามธรรมชาติ อย่างเช่นเขื่อนตามธรรมชาติ ก็มักจะเป็นเขื่อนดิน หรือถ้าจะมองในแง่คิดที่ว่า ถ้าเรามีน้ำที่ใสสะอาด แต่ถ้านำดินไปใส่ลงไปในน้ำ ก็จะทำให้น้ำที่ใสสะอาดเกิดความขุ่นเกิดตะกอน และไม่สะอาดหรือแม้กระทั่ง หากนำน้ำไปรด หรือเทลงบนพื้นดินน้ำก็จะถูกดินดูดจนแห้งหายไปในทันที ด้วยแนวคิดนี้จะกล่าวได้ว่า "ธาตุดิน" พิฆาต "ธาตุน้ำ"

ธาตุทอง

ธาตุ ทองชนะ หรือได้เปรียบ ธาตุไม้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ธาตุทองมีความแข็งแกร่ง หรือถ้าจะสมมุติ ธาตุทองอาจจะเป็นของแข็งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นอาวุธ ของมีคม เป็นมีด หรือขวาน เมื่อเรานำมีด หรือขวาน ไปฟันต้นไม้น้ำเกิดแผล หรือเกิดการหักโค่นลง ภายใต้แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดหลักการที่ว่า "ธาตุทอง" พิฆาต "ธาตุไม้"

ธาตุน้ำ

ธาตุ น้ำชนะ หรือได้เปรียบ ธาตุไฟ ภายใต้หลักการข้อนี้ คงจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า น้ำย่อมสามารถดับไฟ และทำให้ไฟมอด หรือดับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า "ธาตุน้ำ" พิฆาต "ธาตุไฟ"



 ธาตุไม้

ธาตุ ไม้ชนะ หรือได้เปรียบ ธาตุดิน ตามหลักการของธรรมชาติ ต้นไม้ เติบโตได้ด้วยน้ำแต่ก้คงจะไม่ทั้งหมด ที่เรากล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่า ต้นไม้จะมีทั้งรากแก้ว และรากฝอยที่ฝังตัวอยู่ในดิน ซึ่งจะคอยดูดแร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นดินเพื่อมาหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้มีความแข็งแรง และเติบโต ก็คือดินสูญเสียแร่ธาตุที่มีอยู่ให้กับต้นไม้ หรืออีกนัยหนึ่ง รากของต้นไม้สามารถชอนไชเข้าไปในดิน ทำให้ดินแตกได้ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดที่กล่าวว่า "ธาตุไม้" พิฆาต "ธาตุดิน"

ธาตุไฟ

ธาตุ ไฟชนะ หรือได้เปรียบ ธาตุทอง คิดตามแนวคิดธรรมชาติ ก็คงเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ไฟสามารถเผาผลาญ และทำลาย ได้ทุกสรรพสิ่ง ให้กลายเป็นเถ้าถ่าน หรือแปรเปลี่ยนคุณลักษณะ ดังนั้นไม่ว่า ทอง หรือโลหะ ที่มีความแข็งแกร่งแค่ไหนก็ตาม เมื่อเจอไฟ ก็ต้องมีการหลอมละลาย ด้วยหลักการข้อนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า "ธาตุไฟ" พิฆาต "ธาตุทอง"

สรุปวงจรการพิฆาต

ธาตุดิน   土            พิฆาต     ธาตุน้ำ  

ธาตุทอง 金            พิฆาต     ธาตุไม้  

ธาตุน้ำ   水            พิฆาต     ธาตุไฟ  

ธาตุไม้   木            พิฆาต     ธาตุดิน  

ธาตุไฟ   火            พิฆาต     ธาตุทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น