เรื่องของบันได

                     วันนี้ จะขอคุยเรื่องของบันไดซักหน่อย  เนื่องจากตัวผมเองที่มักถูกสอบถามอยู่บ่อยครั้ง เรื่องของบันไดในบ้านควรจะขึ้นชั้นบน โดยวนซ้ายหรือขวาถึงจะดีและถูกฮวงจุ้ย จะต้องมีจำนวนขั้น เลขคู่หรือเลขคี่ ถึงจะดี ?
                   
                       เรื่องของบันไดนั้น ถ้าจะอธิบายตามหลักการและเหตุผลของการออกแบบ ก็จะมีความสัมพันธ์ กันกับขอกำหนดทางฮวงจุ้ยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ซินแส ก็เปรียบเสือน ดีไซน์เนอร์ คนนึงที่ในสมัยโบราณ จะต้องให้มากำหนดตำแหน่งต่างๆของบ้าน ให้ถูกต้อง นั่นเอง  และรายละเอัยดปลีกย่อย อันเป็นเหตุผลแฝงบางอย่าง ที่วิชา ฮวงจุ้ย เพิ่มขึ้นมา หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ไม่มีในตำราออกแบบ ในยุคปัจจุบัน   รวมถึงการจัดพิธีกรรม ก่อนลงมือก่อสร้างและ ย้ายเข้าบ้าน ส่งเจ้าของบ้าน ให้อยู่อาศัยเรียบร้อย

                        แต่พิธีกรรมบางอย่างเริ่มลืมเลือนและละเว้น ห่างหายไปบ้างตามยุค ตามสมัย เรื่องพิธีกรรมนั้นผมขอเก็บไว้ก่อน มาคุยเรื่องที่เกริ่นไว้ตอนแรกครับ คือ เรื่องของบันได  ถ้าจะกล่าว ไปแล้วนั้น ข้อกฎหมาย ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พศ 2543 ก็ได้กำหนดขนาดบันได และความสูง ความกว้างไว้เรียบร้อยแล้ว  ท่านสามารถ สร้างบ้านและทำบันได ให้ถูกต้องตามกฎหมายได้เลย และสามารถใช้งานได้จริงด้วยครับ   แต่ทีนี้ตามความเป็นจริงนะครับ เรื่องที่อยากทราบของเจ้าของบ้านส่วนมาก เราจะหาคำตอบไม่ได้ ครับ ในกฎหมาย ในฉบับนี้ หรือฉบับใหน  คำถามที่มักเจอบ่อยไม่ได้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเลยครับ  มันคือฮวงจุัยล้วนๆ ครับ
                     
                          คำถาม แรก ที่ถามบ่อยมานะครับ คือ บันไดเลขคู่ หรือเลขคี่ ดี และ 1ช่วงชานพัก จะเลขคู่หรือเลขคี่ดี และ รวมแล้วจะเลขคู่ เลขคี่ ถึงจะดีที่สุด เมื่อสร้างบ้านหรือซื้อบ้านนะครับ เราต้องอยู่ไปอีกยาวนานครับ ดังนั้น มาดูกันนะครับ ว่าเลขคู่หรือเลขคี่ถึงจะดี  คำตอบ คือ เลขคี่ ครับ และเฉพาะลูกนอนเท่านั้น ไม่รวมลูกตั้ง เมื่อนับก้าว แล้ว ก้าวสุดท้าย ที่ จบที่ชานพัก จะเป็นก้าว เลขคู่ เรียกว่า ขึ้นเท้าใหน ก็ให้จบที่อีกเท้า เมื่อถึง ชานพัก หรือ ชั้นต่อไป
       
                   ส่วนการที่จะวน ซ้ายหรือขวา นั้น โดยส่วนใหญ่ จะพบว่าอุบัติเหตุ จาการขึ้นบันได มักจะเกิดขณะเดินขึ้นมากกว่า เดินลง และคนส่วนใหญ่ จะถนัดมือขวา ในการจับราวบันได ขณะเดินขึ้นบันไดเพื่อพยุงตัวไม่ให้ล้ม และช่วยพยุงร่างกายให้เดินขึ้นบันไดได้สะดวก เพราะการเดินขึ้นบันไดจะออกแรงมากกว่า การเดินลง  จึงสรุปได้ว่า บันไดควรจะวนขวา นะครับ แต่.....  แต่ ในทางฮวงจุ้ย จะเพิ่มเรื่องที่จะพูดถึงคือพลังงานบางอย่าง ที่เรียกว่า ชี่  ซึ่งจะใหลเวียน เข้ามาภายในบ้าน ครับ และ ใหลไปตามบันได ทั้งขึ้นและลง  นี่และครับ ที่จะบอกว่า บันได จะวนซ้ายก็ได้ครับ  และทิศที่จะวนซ้ายได้นั้น ซินแสจะเป็นผู้ตอบได้ครับ เพราะการวัด องศาบ้านแต่ละหลัง ต้องใช้เข้มทิศจีนในการวัด หรือที่เรียกว่า หล่อแก 


                 ตัวอย่าง ทิศ ที่สามารถ วนซ้ายได้ และดี คือบ้านที่ หลังบ้านหันไปทิศ  105- 120 องศา เป็น 1ในจำนวน 12 ขุนเขา วงฟ้า ( 360 องศา มี 24 ขุนเขา) ทั้งนี้ รายละเอียดคงต้องให้ซินแสท่าน เป็นผู้กำหนดให้นะครับ เพราะรายละเอียดจะมากพอสมควรครับ

                 เรื่องอื่นที่สำคัญ และไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การสร้างบันได ไว้ กลางบ้าน  เพราะ แสงจะลงแทบไม่ถึง แลtจะค่อนข้างมืดเมื่ออยู่กลางบ้านทำให้ต้องเปิดไฟ ในบ้านตลอด การถ่ายเทอากาศ ในปล่องบันได ก็จะไม่ดีเท่าที่ควร ในเชิงการออกแบบแล้ว เรียกว่า ผิดมหันต์ทีเดียว เพราะปัญหา ที่ตามมานั้น อีกมากมาย เคยมีนะครับที่เจ้าของบ้าน บอกว่า โรงแรม ก็ยังทำกันเลย บันไดไว้กลางๆสวยดี ก็ไม่เถียงนะครับว่าสวยดี แต่ดีไม่ดีเราไม่ได้อยู่ทุกวันนะครับ โรงแรมคือที่ซึ่งเราไปพักชั่วคราว ส่วนบ้านของท่าน ๆต้องอยู่ แทบทุกวัน หรือทั้งชีวิต และในโรงแรมนั้น จะใช้ระบบเครื่องกลมาใช้ ในการถ่ายเทอากาศภายในครับ และยังเปิดไฟตลอดเวลาอีกด้วย คงไม่ต้องพูดถึง เรื่องค่าใช่จ่ายนะครับ ในทางฮวงจุ้ย ก้จะห้ามสร้างบันไดกลางบ้าน เหตุเพราะ จะกล่าวถึงเรื่อง ตำแหน่ง หัวใจของบ้าน  การมีบันไดกลางบ้าน จะส่งผลให้เจ้าบ้าน เป้นโรคหัวใจได้ง่าย เหตุเพราะ  การขัดขวาง การเดินทางของชี่ ที่เข้ามาในตัวบ้านนั้น และยังกล่าวถึงการแตกความสามัคคี ของคนในบ้านด้วยครับ
             
                บันได ยังมีข้อห้ามปลีกย่อย อีกหลายอย่าง เช่น ห้าม ตรงประตูห้องนอน และห้องน้ำ ข้อนี้ เข้าใจได้เลยว่า การเปิดประตู เข้าออก อาจเกิด อุบัติเหตุลื่นล้ม หรือสะดุด จะได้ไม่ตกจากชั้นบนลงมาได้ง่ายๆ   แต่ในทางฮวงจุ้ย อธิบายว่าเงินทองรั่วไหล  เพราะบันไดพาเงินออกไป ซึ่งก็เป็นกล่าวแบบไม่ทำร้ายเจ้าของบ้านจนเกินไปนะครับ เรียกว่า ไม่ได้แช่ง หรือพูดไม่เป็นมงคล นั่นเองครับ    

         
                 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น